สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2559

1

รายละเอียดตามไฟล์ —->dhf_251259

ประชุมวิชาการ “เตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา”

Ebola

ขอเชิญ … แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และผู้สนใจ เข้าฟังบรรยายวิชาการ เรื่อง “เตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา” ในวันที่ 8 กันยายน 2557 ณ ห้องประดับแก้ว โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น จังหวัดร้อยเอ็ด …

ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายในหัวข้อ สถานการณ์ องค์ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา การวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วย และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล

รวมถึงการฝึกปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อม กรณีมีผู้สงสัยในโรงพยาบาลและในชุมชน

รายละเอียดแจ้งไปในหนังสือราชการ ในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิค
ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด โทร 043515206 (ในเวลาราชการ) หรือ อีเมล์ epidroiet@yahoo.com

 

แจ้งเตือนการระบาดและเร่งรัดการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปาก

 

แจ้งเตือนการระบาดโรคมือเท้าปาก
สถานการณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 – 25 มิถุนายน 2557 มีรายงานผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก (HFMD) จำนวน 278 ราย อัตราป่วย 21.24 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยเดือนมกราคม – มิถุนายน 2557 มากกว่าปี 2556 และมากกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้น ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 22 เป็นต้นมา
ในการนี้ จึงขอให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. เร่งรัดมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ตามแนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2. ให้ดำเนินงานที่เข้มข้นใน 2 มาตรการ คือ
2.1 ให้ควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด โดยประสานงานกับโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมศึกษา และศูนย์เด็กเล็กที่อยู่ในพื้นที่เน้นเรื่องการทำความสะอาดป้องกันการแพร่ เชื้อ กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดในศูนย์เด็กเล็กและสถานศึกษา เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก รวมทั้งให้มีการคัดกรองเด็กนักเรียน หากพบเด็กป่วยขอให้หยุดเรียนและกลับไปพักที่บ้าน ให้เน้นการล้างมือ กินอาหารที่สุกใหม่ และร้อน
2.2 การดูแลรักษาผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด โดยเน้นย้ำผู้ปกครอง ทุกคน หากพบเด็กมีไข้สูง 2 วัน ซึมลงหรืออาเจียน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. รพ.ทุกแห่ง ให้ดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดโรค มือ เท้า ปาก สำหรับแพทย์ และขอให้กำชับแพทย์ในสถานพยาบาลในพื้นที่ให้ระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ของโรค เช่น ภาวะปอดบวมน้ำในเด็กเล็ก อาการทางระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่อาจ ไม่มาด้วยอาการตุ่มที่ปาก หรือฝ่ามือ ฝ่าเท้า
4. การประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทาง เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก แก่ประชาชน
สามารถติดตามสถานการณ์และ download แนวทางการดำเนินงาน ได้ที่เว็ปไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?g=1&items=1277download  ไฟล์เอกสารได้ที่นี่   ———> HFM_sur280657

ขอเชิญส่งผลงาน/เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ เครือข่าย SRRT จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2556

epid_0556

 

ด้วยฝ่ายระบาดวิทยา     ได้จัดการสัมมนาวิชาการและนำเสนอผลงานเครือข่ายทีม  SRRT  จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2556  เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการการสอบสวนโรคและภัยสุขภาพ  ของเครือข่ายระบาดวิทยาระดับอำเภอและตำบลในวัดร้อยเอ็ด ในระหว่างวันที่ 8 – 9  สิงหาคม  2556   ณ ห้องประดับเงิน  โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น   อำเภอเมือง  จังหวัดร้อยเอ็ด   รายละเอียดตามไฟล์ที่แนบ  ———–> epid_roietseminar56

 

 

เร่งรัดมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการระบาดของโรคคอตีบ

ด้วยในขณะนี้ พบรายงานการระบาดของโรคคอตีบ ในพื้นที่หลายจังหวัด จากข้อมูลการเฝ้าระวัง
ทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2555 พบผู้ป่วย โรคคอตีบ 61 ราย เสียชีวิต 5 ราย ในพื้นที่ 16 จังหวัด คือ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิจิตร หนองคาย บึงกาฬ ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร นครราชสีมาและเฝ้าระวังจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีแนวโน้มจะมีการแพร่ระบาดไปยังจังหวัดใกล้เคียง หากไม่มีการป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มแข็งเพียงพอ
ดังนั้น เพื่อติดตามการเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด และดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง จึงขอให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. เร่งรัดมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ตามแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและป้องกันควบคุมการระบาดของโรคคอตีบ (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1)
2. หากพบผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยโรคตอตีบ ขอให้แจ้งรายงานมายังฝ่ายระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด โทรศัพท์ 0 4351 5206 และแจ้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับอำเภอ/ตำบล ออกดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคทันที
3. การสื่อสารความเสี่ยงถึงประชาชน ในเรื่องการป้องกันตนเอง รวมถึงอาการป่วยที่ต้องพบแพทย์ผ่านทางช่องทางสื่อต่าง ๆ
รายละเอียด สามารถสืบค้นได้จากเว็ปไซต์ของ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค http:/thaigcd.ddc.moph.go.th

ฝ่ายระบาดวิทยา สสจ.ร้อยเอ็ด
epidroiet@yahoo.com โทร 043- 515206

ดาวน์โหลดเอกสาร ——–> แนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวน และป้องกันการระบาดโรคคอตีบ